2/25/2552

แหล่งกำเนิดนักพัฒนาซอฟต์แวร์

0 Comment

ช่วงนี้ผมได้มีโอกาสไปกินข้าวกลางวันกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัทเอกชน ที่เข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับองค์กรของผมครับ บางคนก็เพิ่งเรียนจบ บางคนก็ทำงานมาแล้ว บางคนก็เป็นระดับทีมลีดส์ กินข้าวกันไปก็คุยกันไปครับ เวลาคนเยอะ ๆ เนี่ยผมจะไม่โม้ครับ นั่งฟังลูกเดียว เพราะมันสนุกกว่า ยิ่งถ้ามีผู้หญิงร่วมโต๊ะอาหารเยอะกว่าผู้ชายด้วยแล้ว ยิ่งสนุกใหญ่ครับ เมาส์กันกระจาย ส่วนใหญ่แล้วสาว ๆ จะคุยเรื่องเที่ยว, เรื่องกิน และเรื่องเรียนครับ จึงขาดไม่ได้เลยที่ต้องมีการเอ่ยถึงสถาบันการศึกษา และหลักสูตรที่เรียนจบมา หรือที่กำลังร่ำเรียนกันอยู่ ผมเองก็ฟังอย่างตั้งใจนะ ระคนสงสัยด้วย เพราะมีหลายหลักสูตรที่เอ่ยกันขึ้นมา แล้วผมก็คิดแต่ว่า “มีด้วยเหรอวะ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ชื่อนี้?” ผมเก็บความสงสัยมานาน จนในที่สุดก็เลยตัดสินใจ รวบรวมหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาคอมพิวเตอร์ จาสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาทำเป็นตารางเพื่อให้ดูง่ายครับ เพราะเห็นว่าไม่มีใครเคยทำกัน น่าจะเป็นประโยชน์


ตารางนี้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐครับ

ตารางนี้เป็นมหาวิทยาลัยของเอกชนครับ
จะเห็นว่ามีคำย่อด้วย ผมจะอธิบายคำย่อดังต่อไปนี้
CE - Computer Engineering - วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
CS - Computer Science - วิทยาการคอมพิวเตอร์
IT - Information Technology - เทคโนโลยีสารสนเทศ
SE - Software Engineering - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
CM - Computer Multimedia - คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
MIS - Management Information System - การจัดการระบบสารสนเทศ
IS - Information System - ระบบสารสนเทศ
CT - Computer Technology - เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เทคนิคคอมพิวเตอร์
BC - Business Computer - คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ผมไม่ได้คัดแยกหรอกนะว่าเป็นอุดมศึกษาระดับไหน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่จะ…
เป็นหลักสูตรของทั้งปริญญาตรี, ปริญญาโท หรือปริญญาเอก
เป็นหลักสูตรของทั้งภาคปรกติ, ภาคสมทบ หรือภาคพิเศษ
เป็นหลักสูตรสำหรับผู้สอบตรง, ผู้สอบผ่านจากเอ็นทรานซ์ หรือผู้สอบผ่านจาก o-net; a-net
จะเห็นว่าเฉพาะหลักสูตรที่เกี่ยวโยงกับคอมพิวเตอร์ ก็มีตั้งหลายสาขาวิชาแล้วครับ มีสาขาที่ผมเพิ่งรู้ด้วยว่ามี อย่างเช่น สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นต้น
การเก็บข้อมูลสองตารางนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยครับ เพราะผมต้องอาศัยความถึกล้วน ๆ เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ล่ะเว็บ, เข้าไปดูที่ล่ะคณะ และเข้าไปดูทีล่ะสาขาวิชา ไม่สามารถใช้การเขียนซอฟต์แวร์เข้าช่วยได้เลย แย่จริง

จากตารางทั้งสอง ทำให้ผมได้ข้อสรุปดังนี้ครับ

1.ทุกสถาบันอุดมศึกษา ล้วนให้ความสนใจในการผลิตบุคลาการทางด้านคอมพิวเตอร์
2.มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ เน้นผลิตบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจเป็นหลัก
3.สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย คงยังไม่เป็นที่นิยมในเร็ววันนี้ และ
4.หลักสูตรทางคอมพิวเตอร์ กระจุกตัวอยู่ในขอบเขตของ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, วิทยาศาสตรบัณฑิต, บริหารธุรกิจบัณฑิต และ พาณิชยศาสตร์และการบัญชบัณฑิต เท่านั้น
ป.ล. 1) รู้สึกว่าจะมีมหาวิทยาลัยเอกชนอีกหลายที่ ที่ผมไม่ได้เข้าไปเก็บข้อมูล แต่แค่นี้ก็คงพอแล้วล่ะ
ป.ล. 2) มหาวิทยาลัยราชภัฐ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีจำนวนมากถึงมาก ๆ ผมเลยขออนุญาตยุบเหลือแค่อย่างล่ะที่ คงไม่ว่ากันนะครับ

Read More...